แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

               1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
                แบ่งได้ 3วิธี ดังนี้
                        1. ขั้นเตรียมข้อมูล เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
                1.1 การลงรหัส
                1.2 การตรวจสอบ
                1.3 การจำแนก
                1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
       2. ขั้นตอนการประมวลผลคือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น  มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
                2.1 การคำนวณ
                2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
                2.3 การสรุป
                2.4 การเปรียบเทียบ
       3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ  อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์  เป็นต้น

2. จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูล
       แต่ละแบบ

  • บิต (bit)  เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น 0 หรือ 1
  • ตัวอักษร (character) กลุ่มข้อบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้ ในชุดอักขระASCII 1 ไบต์ (8 บิต) แทน 1 ตัวอักษร
  • เขตข้อมูล (field) เขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
  •  ระเบียน (record) คือโครงสร้างข้อมูลที่แทนตัววัตถุชิ้นหนึ่ง เช่น ระเบียนนักเรียน
  •  แฟ้ม  (file)  ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
  •  ฐานข้อมูล (database) กลุ่มของตารางที่มีความสัมพันธ์กัน

    3. หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบ   
    ฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) 
  •  เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน 
2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
  •  ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน 
3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
  • ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัวลูกศร
  • ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล
             1. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล
             2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้  ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน
             3. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล 
                                     4. รักษาความถูกต้อง  ฐานข้อมูลบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดขึ้น  เช่น  การป้อนข้อมูลผิด ซึ่งระบบการ  
                                    จัดการฐานข้อมูล
                                    5. สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
                                    6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้
                                    7. ความเป็นอิสระของข้อมูลและโปรแกรม  โปรแกรมที่ใช้ในแต่ละแฟ้มข้อมูลจะมีความสัมพันธ์กับแฟ้ม    
                                    ข้อมูลโดยตรง  

                       4. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบทช์และแบบเรียลไทม์
  •              ระบบการประมวลผลแบบเชิงกลุ่ม (Batch processing)  คือ การประมวลผลโดยการรวบข้อมูลไว้ช่วงเวลา  หนึ่ง ก่อนที่จะนำข้อมูลเข้าเครื่องเพื่อประมวลผลในคราวเดียวกัน เช่น การทำบัญชีจ่ายเงินเดือนพนักงานทุกสิ้นเดือน ระบบการคิดดอกเบี้ยธนาคาร ซึ่งต้องใช้เวลาสะสม 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี หรือระบบการเรียนการสอน การบันทึกเกรดของนักเรียน ในแต่ละเทอมจนเทอมสุดท้ายจึงพิมพ์ใบรับรองเกรด  ฉะนั้น การประมวลผลข้อมูลโดยใช้ระยะเวลาในการสะสมข้อมูลอยู่ระยะหนึ่งก่อน แล้วจึงนำมาประมวลผลพร้อมกันและในการทำงานจะไม่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลแบบนี้เรียกว่า  ระบบ ออฟไลน์ (Off-Line System)
  •              ระบบการประมวลผลแบบเวลาจริง (Real-Time processing) การประมวลผลแบบนี้คือ การประมวลผลข้อมูลจากสถานที่จริงจากเวลาและเหตุการณ์จริง โดยปกติแล้วจะทำควบคู่กับแบบ On-line processing (On-line processing ก็คือการทำงานแบบตอบสนองหรือให้ Output แบบทันทีทันใด) ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า "on-line real-time" การประมวลผลประเภทนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำ Output ที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา และดำเนินการต่าง ๆ ได้ทันท่วงที หรือทันกาล
  •               ตัวอย่าง   เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกับเครื่องตรวจจับป้องกันไฟไหม้ (โดยกำหนดว่าถ้ามีควันมากและอุณหภูมิสูงผิดปกติถือว่าเกิดไฟไหม้) ซึ่งคอมพิวเตอร์จะต้องนำข้อมูล (จากสถานที่เหตุการณ์และเวลาจริง) มาประมวลผลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และถ้าประมวลผลแล้วพบว่าไฟไหม้ คอมพิวเตอร์ก็จะสั่งให้น้ำยาดับเพลิงที่ติดตั้งไว้ทำงาน (ตอบสนองทันที) การที่คอมพิวเตอร์ฉีดทันทีเราอาจกล่าวได้ว่าเป็นผลจากการทำงานแบบ On-line นั่นเอง


   
          


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น